เช็คกระบองเพชรขาดน้ำหรือไม่? พร้อมแนะนำการรดน้ำตามฤดูกาลอย่างถูกวิธี

ชั้นวางต้นไม้

กระบองเพชรขาดน้ำ 🌵

กระบองเพชรขาดน้ำ
ภาพจาก https://pixabay.com

อาการที่หลายคนไม่อยากจะเชื่อว่าจะสามารถเกิดขึ้นกับกระบองเพชร ที่เรียกได้ว่าเป็นพืชที่เฉยๆจนถึงขั้นไม่ชอบน้ำมากที่สุด!

แต่เชื่อหรือไม่ว่ากระบองเพชร ก็มีอาการขาดน้ำได้เหมือนกันนะ เดี๋ยวเราไปหาคำตอบกันดีกว่า ว่ากระบองเพชรขาดน้ำ

เกิดจากสาเหตุอะไร แล้วต้องแก้ไข ต้องรักษาน้องยังไงถึงจะหายจากอาการขาดน้ำ ไปอ่านด้านล่างกันเลย

ตามหาสาเหตุสำคัญของกระบองเพชรขาดน้ำ 🌵

กระบองเพชรขาดน้ำ
ภาพจาก https://pixabay.com

กระบองเพชรแม้จะเป็นพืชที่ไม่ต้องรดน้ำบ่อย และส่วนใหญ่ก็มักจะเตือนกันในเรื่องของให้ระวังดินแฉะหรือรากเน่ามากกว่า

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ต้องรดน้ำเลย ซึ่งอาการกระบองเพชรขาดน้ำจะมีลักษณะ ดังนี้

  • กระบองเพชรมีลำต้นเหี่ยว
  • กระบองเพชรเมื่อสัมผัสแล้วมีการยุบตัว
  • กระบองเพชรมีลักษณะผิวลำต้นย่น

หากเห็นอาการดังกล่าว ก็ค่อนข้างชัดเจนเลยว่ากระบองเพชรของท่าน เกิดการขาดน้ำเข้าให้แล้ว โดยมักจะเกิดจากการที่ลืมรดน้ำเป็นเวลานาน

ปล่อยให้ดินแห้งเป็นเวลานานนั่นเอง แม้กระบองเพชรจะไม่ชอบน้ำ และมีข้อควรระวัง คือ ห้ามรดน้ำจนดินแฉะ

แต่น้องก็ยังเป็นพืช พืชจะต้องมีองค์ประกอบหลักในการเจริญเติบโต คือ แสงแดด และน้ำ การที่คิดว่า เฮ้ย กระบองเพชรจะต้องใส่ใจรดน้ำไปทำไม

จึงเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์ เพราะถ้าไม่รดน้ำน้อง ปล่อยละเลยน้อง คุณก็จะกลายเป็นคนที่แม้แต่กระบองเพชรที่ว่าอึดก็ยังเลี้ยงแล้วตาย

กระบองเพชรขาดน้ำดูยังไงถึงจะรู้ 🌵

กระบองเพชรเมื่อขาดน้ำจะมีลักษณะที่แสดงออกแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ซึ่งจะแบ่งคร่าวๆเพื่อให้สังเกตอาการขาดน้ำได้ง่าย ดังนี้

  • กระบองเพชรสายพันธุ์ที่มีใบหนา
กระบองเพชรขาดน้ำ
ภาพจาก https://pixabay.com

หากเป็นกระบองเพชรที่มีใบหนา สายพันธุ์ของน้องจะบ่งบอกอาการขาดน้ำ จากการที่ใบยุบนั่นเอง

หากคุณผู้เลี้ยงเห็นว่ากระบองเพชรของคุณใบยุบ ใบเล็กลง ใบลีบ นั่นแปลว่าเกิดอาการขาดน้ำแล้วค่ะ

  • กระบองเพชรสายพันธุ์ไม่มีใบ
กระบองเพชรขาดน้ำ
ภาพจาก https://pixabay.com

สำหรับสายพันธุ์ที่มีใบ เช่น กุหลาบหิน เราจะดูได้จากใบ แต่สำหรับสายพันธุ์ที่ไม่มีใบเราจะสังเกตได้จากลำต้น

หากว่าลำต้นมีผิวที่เหี่ยวย่น สัมผัสแล้วนิ่ม ก็หมายความว่ากระบองเพชรของคุณ เกิดการขาดน้ำเข้าแล้ว

กระบองเพชรขาดน้ำอันตรายหรือไม่ ควรรดน้ำอย่างไร 🌵

กระบองเพชรขาดน้ำ
ภาพจาก https://pixabay.com

กระบองเพชรขาดน้ำเป็นอาการที่ไม่ได้รุนแรงหรืออันตรายอะไร หากเทียบกับพืชพันธุ์อื่น วิธีแก้คือ การปรับเพิ่มการรดน้ำให้กับน้อง

จากที่ต้องรดน้ำเฉพาะดินแห้งก็เปลี่ยนเป็นอาทิตย์ละประมาณ 2-3 ครั้ง อาการผิวลำต้นเหี่ยวย่น และใบยุบจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ

วิธีรดน้ำกระบองเพชรเพื่อป้องกันการขาดน้ำ 🌵

การรดน้ำกระบองเพชรง่ายนิดเดียว มีข้อควรจำให้มั่น แค่ต้องรดน้ำเฉพาะเมื่อดินแห้งแล้ว และไม่ควรรดน้ำมากจนเกินไป

เพราะอาจจะเสี่ยงต่อการน้ำขัง และทำให้รากเน่า รากเป็นเชื้อราได้ โดยจะแบ่งเทคนิคการรดน้ำกระบองเพชร

ตามฤดูกาลให้กับคุณผู้อ่านของ Midori-Garden ดังนี้

  • การรดน้ำกระบองเพชรในฤดูร้อน

สำหรับการรดน้ำกระบองเพชรในฤดูร้อน สามารถรดน้ำได้ถี่ขึ้นกว่าในทุกฤดู เพราะอากาศที่ค่อนข้างร้อน

จะทำให้น้ำเกิดการระเหยได้ไว และกระบองเพชรก็จะดูดซึมน้ำไว สามารถรดน้ำประมาณ 2 ครั้งในหนึ่งอาทิตย์ได้เลย

  • การรดน้ำกระบองเพชรในฤดูฝน

ฤดูฝนเป็นฤดูที่อันตราย เพราะหากรดน้ำมากไปจะทำให้เกิดความชื้นสองต่อ จากทั้งน้ำ และสภาพอากาศ เสี่ยงต่อการรากเน่าเป็นอย่างยิ่ง

หากกระบองเพชรของคุณได้รับน้ำจากฝนก็ไม่ต้องรดเพิ่ม สิ่งที่ควรทำคือ เช็คก่อนรดน้ำทุกครั้งว่าดินแห้งแล้วหรือไม่

  • การรดน้ำกระบองเพชรในฤดูหนาว

เกือบร้อยทั้งร้อยของกระบองเพชรจะไม่ต้องการการรดน้ำในฤดูหนาว เพราะในช่วงหน้าหนาวกระบองเพชรที่มีการเซฟตัวเอง เราไม่ควรไปยุ่ง

ไปกังวลว่าถ้าไม่รดน้ำจะขาดน้ำหรือไม่ อากาศในช่วงนี้เย็นอยู่แล้ว แทบจะไม่ต้องไปรดน้ำเลยค่ะ หรือถ้าดินแห้งมากจริงๆ ก็ให้รดอาทิตย์ละครั้ง

กระบองเพชรขาดน้ำเป็นอาการที่ไม่ควรมองข้าม 🌵

กระบองเพชรขาดน้ำ
ภาพจาก https://pixabay.com

กระบองเพชรถึงแม้จะเป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ชอบแดด และไม่ชอบน้ำสักเท่าไหร่ แต่ต้องท่องไว้ว่าพืชก็ยังเป็นพืชอยู่วันยันค่ำ

การเจริญเติบโต และดำรงชีวิตของพืชยังไงก็ต้องมีแสงแดด และน้ำเข้ามาเกี่ยว ดังนั้นผู้เลี้ยงต้องไม่ละเลยในเรื่องการรดน้ำ

เพราะอาจจะทำให้กระบองเพชรได้รับน้ำน้อยเกินไปจนขาด อาการที่สังเกตได้ง่ายที่สุดเลยคือ ผิวลำต้นเหี่ยว

แต่ก็ถือเป็นโชคดีว่าการขาดน้ำไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับน้องกระบองเพชร เพียงแค่รดน้ำเพิ่มเดี๋ยวก็กลับมาดีเหมือนเดิมได้แล้ว

และนอกจากการรดน้ำก็สามารถเพิ่มการบำรุงด้วยปุ๋ยตามสมควรไปด้วยก็ดีนะคะ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า