ความเหมือนที่แตกต่าง กระบองเพชรกับยูโฟเบียเหมือนกันหรือไม่? หาคำตอบได้ที่นี่

กระบองเพชรยูโฟเบีย

กระบองเพชรยูโฟเบีย🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://planetdesert.com

หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมคนขาย ถึงบอกว่านี่ไม่ใช่กระบองเพชรแต่เป็นยูโฟเบีย แต่กลับมีหน้าตาละม้ายคล้ายคลึง กับกระบองเพชรเป็นอย่างยิ่ง

ซึ่งในความจริงแล้วกระบองเพชรยูโฟเบียเป็นไม้อวบน้ำ (succulent) นั่นเองค่ะ แต่รับรองว่าสาวกกระบองเพชรที่มาตกหลุมยูโฟเบีย

ก็จะหลงรักเจ้าสายพันธุ์นี้ได้ไม่ต่างกัน เราไปทำความรู้จักกับน้องยูโฟเบียกันเลยดีกว่า

ส่องประวัติสายพันธุ์กระบองเพชรยูโฟเบีย🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย หรือไม้อวบน้ำยูโฟเบีย (Euphorbia) เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีลำต้นอวบน้ำ มีใบที่หน้าตาคล้ายหนามกระบองเพชร 

ถิ่นกำเนิดแท้จริงอยู่ที่ไหนไม่มีใครชี้เฉพาะได้ จึงต้องดูที่มาของแต่ละสายพันธุ์มากกว่า ซึ่งก็มีหลากหลายประเทศทั่วโลก

ไม่ว่าจะเป็นประเทศแอฟริกา หรือประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ยูโฟเบียมีสมาชิกในสกุลมากกว่า 2,000 ชนิด

แบบเด่นๆที่คนไทยรู้จักเห็นจะเป็น สลัดได โป๊ยเซียนนั่นเองค่ะ

ยูโฟเบียมีหนามเหมือนกับกระบองเพชรจริงหรือไม่? 🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://www.gardenia.net

หลายคนอาจเถียงว่ายูโฟเบียจะไม่ใช่กระบองเพชรได้อย่างไรในเมื่อมีหนาม แต่ในความเป็นจริงแล้วหนามที่เราคิดว่าเป็นหนามกระบองเพชร มันไม่ใช่!

เป็นเพียงแค่หนามของยูโฟเบียเท่านั้น ไม่ได้ลดรูปจากใบเป็นหนาม ถือเป็นคนละแบบกับกระบองเพชรเลยนะคะ

ความใกล้ชิดกับกระบองเพชรมีเพียงแค่ถูกจัดเป็นไม้อวบน้ำ (Succulent) เหมือนกันเท่านั้นเอง ความแตกต่างของยูโฟเบีย กับกระบองเพชรก็คือ

ยูโฟเบียเป็นไม้ล้มลุก และไม้ยืนต้นเนื้ออ่อน ที่สำคัญคือ ไม่มีกลีบดอกที่แท้จริง ซึ่งกระบองเพชรมีค่ะ

มือใหม่ก็ทำได้ วิธีปลูกต้นยูโฟเบียให้เจริญงอกงาม🌵

ต้นยูโฟเบียสามารถเลี้ยงได้แบบกระบองเพชรเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดิน ที่ควรจะใช้ดินร่วนหรือดินโปร่ง

บางคนอาจจะใช้ดินปลูกกระบองเพชรเลยก็สามารถทำได้ แต่สำหรับยูโฟเบียไม่จำเป็นต้องให้แดดกับน้องมากเท่ากระบองเพชรนะคะ

เพราะถึงแม้จะค่อนข้างทนแดด ทนแล้งแต่ก็ไม่ได้เกิดมาเพื่อสิ่งนี้ จึงควรระมัดระวังกันสักนิดค่ะ

ขอแนะนำกระบองเพชรยูโฟเบียที่เป็นนิยมอย่างมาก🌵

ยูโฟเบีย แลคเทีย🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://oer.learn.in.th

ยูโฟเบีย แลคเทีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Euphorbia lactea หรือที่คนไทยมักเรียกกันว่าหยก

ถือเป็นอีกหนึ่งไม้มงคลที่ชาวสายมูต้องรู้จัก ถ้าหากว่าเป็นต้นสูงก็จะถูกเรียกว่าหยก

แต่ถ้าคริส (cristata) จะถูกเรียกว่าหยกนำโชค ใครที่เชื่อเรื่องโชคลางอย่าลืมหามาไว้ในครอบครอง

ยูโฟเบีย สลัดได 🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://medthai.com

สลัดได หรือ Euphorbia Antiquorum เป็นอีกหนึ่งสายพันธุ์ยูโฟเบีย ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ออกใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ

ใบมีขนาดเล็ก ส่วนใหญ่มักนำไปใช้เป็นยาสมุนไพรช่วยรักษาโรค แต่ก็มีข้อควรระวังคือ สลัดจะมียางที่ค่อนข้างมีพิษ

จึงควรที่จะใช้อย่างถูกวิธี มีถิ่นกำเนิดในเอเชียเขตร้อน จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กจำพวกเดียวกับกระบองเพชร สูงได้ถึง 6 เมตรเลยนะคะ

ยูโฟเบีย โป๊ยเซียน 🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://5920602465blog.wordpress.com

โป๊ยเซียนหรือ Euphorbia Milii น่าจะเป็นยูโฟเบียสายพันธุ์ที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี โป๊ยเซียนจะมีลักษณะเป็นใบยาวรี ปลายใบออกแหลม

และจะออกดอกเป็นกลุ่ม ๆ ส่วนดอกโป๊ยเซียนมีหลายสีอย่างที่เคยเห็นกันมา คือ สีแดง สีเหลือง สีชมพู สีส้ม สีขาว

ดอกโป๊ยเซียนจะออกดอกทั้งปี ซึ่งช่วงพีคจะอยู่ในฤดูหนาว ลักษณะของลำต้นมีหนามแหลม ค่อนข้างแข็ง

ยูโฟเบีย ไดโนเสาร์ 🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://www.baanlaesuan.com

ไดโนเสาร์หรือ Euphorbia Decaryi Guillaumin Var. Spirosticha เป็นยูโฟเบียที่ฟอร์มทรงพุ่ม ลำต้นจะมีสีดำแปลกตา

ไดโนเสาร์ ถือเป็นอีกหนึ่งยูโฟเบียที่มีหนามบริเวณลำต้น แต่เป็นหนามสั้น ใบมีสีเขียวและมีขอบใบที่เว้าหยักดูเหมือนกับคลื่น

ใครที่ชอบต้นไม้โตเร็ว เลี้ยงง่าย ห้ามพลาดน้องไดโนเสาร์ แต่มีข้อควรระวังคือ น้องไม่ชอบน้ำแฉะหรือน้ำขัง

ไม่เพียงเท่านั้นถ้าได้รับแสงแดดมากเกินไป ใบจะกลายเป็นสีแดงนั่นเองค่ะ

กระบองเพชรยูโฟเบีย ไม้อวบน้ำกับความเหมือนที่แตกต่าง🌵

กระบองเพชรยูโฟเบีย
ภาพจาก https://www.smgrowers.com

กระบองเพชรยูโฟเบีย ในความเป็นจริงยูโฟเบียถือว่าไม่ใช่กระบองเพชร แต่เป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไม้อวบน้ำ (succulent)

ที่อยู่ในวงศ์เดียวกับกระบองเพชร และถึงแม้จะมีลักษณะภายนอก ละม้ายคล้ายคลึงกันมากก็ตาม แต่ยูโฟเบียก็ไม่ใช่กระบองเพชร

ความแตกต่างคือยูโฟเบียเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่มีดอกที่แท้จริง แต่กระบองเพชรมี และวิธีการเลี้ยงก็ค่อนข้างที่จะแตกต่างกัน

เพราะยูโฟเบียจะไม่ได้ชอบแสงแดดเท่ากับกระบองเพชร ถึงแม้จะใช้ดินประเภทเดียวกัน การรดน้ำประมาณเดียวกันก็ตาม ดังนั้นต้องศึกษาให้ดีก่อนเลี้ยงนะคะ🌵

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า